In Thailand

ว่อนภาพ โคลนปริศนาผุดจากรอยแยกหลังแผ่นดินไหว อ.เจษฎา ตอบแล้ว ใช่ลาวาไหม

ว่อนภาพ โคลนปริศนาผุดจากรอยแยกหลังแผ่นดินไหว อ.เจษฎา ตอบแล้ว ใช่ลาวาไหม
Written by Thailand News

        ของเหลวผุดจากรอยแยกหลังแผ่นดินไหวเมียนมา อ.เจษฎา ตอบแล้วคืออะไร ใช่ลาวาไหม เผย 4 สาเหตุ เกิดปรากฏการณ์



โคลนปริศนาผุดจากรอยแยกหลังแผ่นดินไหว

         เป็นภาพที่เรียกเสียงฮือฮาไม่น้อย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังมีเหตุแผ่นดินไหวเมียนมา โดยระบุว่า “ที่พม่า มีโคลนหรืออะไรผุดออกมาจากรอยแยกแผ่นดินไหว” ซึ่งด้วยลักษณะที่ปรากฏ ทำเอาบางคนสงสัยด้วยว่าใช่ลาวาหรือไม่ หรืออาจจะเป็นของเหลวอื่น ๆ ที่ผุดขึ้นมาเมื่อเกิดรอยแยก

         ล่าสุด (30 มีนาคม 2568) อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เฉลยถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ระบุว่าคือปรากฏการณ์ liquidfaction ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหว ทำให้แรงดันน้ำในดินสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นฟองดัน มีโคลนขึ้นมาตามรอยแยก เรียกว่า สภาวะดินเดือด (soil boiling)

โคลนปริศนาผุดจากรอยแยกหลังแผ่นดินไหว

         ถ้าให้เดา ก็น่าจะเป็นการเกิดรอยแยก แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ทำให้น้ำใต้ดินผุดขึ้นมา แล้วน้ำก็ผลักดันพวกดินโคลนแร่ธาตุที่อยู่ใต้ดิน ขึ้นมาแห้งข้างบนด้วย แต่ถ้าให้มั่นใจได้มากกว่านี้ ก็ต้องส่งทีมธรณีวิทยาไปสำรวจ ซึ่งไม่ใช่ลาวาหรือหินหลอมเหลวแน่ ๆ เนื่องจากตรงนั้นเป็นแค่รอยเลื่อน ไม่ใช่แนวปะทุเป็นภูเขาไฟ

โคลนปริศนาผุดจากรอยแยกหลังแผ่นดินไหว

 

         สำหรับ Soil boiling คือ
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อก๊าซหรือของเหลวใต้ดินถูกดันขึ้นมาผ่านชั้นดินอย่างรวดเร็ว
ทำให้ดินดูเหมือนกำลังเดือด (คล้ายกับน้ำเดือด)
ซึ่งมักเกิดขึ้นจากแรงดันที่สะสมอยู่ใต้ดิน และสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ
เช่น

         1. แรงดันน้ำใต้ดิน (Pore Water Pressure) สูง :
เกิดขึ้นเมื่อน้ำใต้ดินถูกกักอยู่ใต้ชั้นดินที่มีความหนาแน่นสูง
แล้วได้รับแรงดันเพิ่มขึ้น เช่น จากกระบวนการก่อสร้างหรือแผ่นดินไหว

         2. กระบวนการทางธรณีวิทยา เช่น การปล่อยก๊าซจากโพรงใต้ดิน หรือกิจกรรมของภูเขาไฟ

        
3. Liquefaction (การทรายเหลว)
เกิดขึ้นเมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ำและได้รับแรงสั่นสะเทือน เช่น จากแผ่นดินไหว
ทำให้ดินสูญเสียความแข็งแรงชั่วคราวและเคลื่อนตัวขึ้นมาเหมือนกำลังเดือด

        
4. การรั่วไหลของก๊าซใต้ดิน เช่น มีเทน (Methane) หรือก๊าซธรรมชาติอื่น ๆ
ที่สะสมอยู่ใต้ดินแล้วมีแรงดันมากพอที่จะดันตัวขึ้นมาสู่ผิวดิน

        
ปรากฏการณ์นี้อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคาร ถนน และเขื่อน
เพราะอาจทำให้ดินสูญเสียความแข็งแรงและเกิดการทรุดตัวได้

โคลนปริศนาผุดจากรอยแยกหลังแผ่นดินไหว




Source link

About the author

Thailand News

Leave a Comment

Translate »