In Thailand

สาวป่วยไทรอยด์ น้ำหนักพุ่ง ฮึบลดน้ำหนัก 19 กก. ใน 8 เดือน แชร์ทริกทำได้ไม่ยาก

สาวป่วยไทรอยด์ น้ำหนักพุ่ง ฮึบลดน้ำหนัก 19 กก. ใน 8 เดือน แชร์ทริกทำได้ไม่ยาก
Written by Thailand News

            สาวป่วยไทรอยด์ น้ำหนักพุ่ง 10 กก. ใน 1 เดือน ฮึบลดน้ำหนักให้ถูกวิธี เห็นผลทันใจ ลดไปได้ 19 กก. ใน 8 เดือน สุขภาพอัปเกรด ตอนนี้สุดแฮปปี้



ลดน้ำหนัก

            การลดน้ำหนักทำได้ไม่ยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้คนมากมาย แม้หลายคนยอมที่จะอดทนเพื่อให้ก้าวไปถึงรูปร่างที่คาดควัง หากแต่หลายครั้งกลับลงเอยด้วยความล้มเหลวเพราะลดน้ำหนักผิดวิธีโดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม สาวเวียดนามรายหนึ่งเพิ่งจะออกมาแชร์เส้นทางการลดน้ำหนักของเธอ ที่ทำตามได้ไม่ยาก และยังช่วยให้เธอลดน้ำหนักลงไปได้ถึง 19 กิโลกรัม ในช่วงเวลา 8 เดือน จนมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

            ข้อมูลจากเว็บไซต์ Phu Nu & Phap Luat เผยว่า ลิวคัมหลินห์ สาวเวียดนามอายุ 25 ปี จากเมืองไฮฟอง ของเวียดนาม ต้องเผชิญความทุกข์ทรมานจากสุขภาพที่ย่ำแย่ ในอดีตเธอมักมีอาการหายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว แต่ก็นึกว่าเป็นเพียงอาการปกติทั่วไป จนในช่วงต้นปี 2563 อาการเหล่านี้ยิ่งชัดเจนขึ้น อีกทั้งคอของเธอยังเริ่มใหญ่ เธอสำลักเมื่อต้องกินหรือดื่มอาหาร จึงไปเข้ารับการตรวจจากแพทย์

ลดน้ำหนัก

ป่วยโรคไทรอยด์ น้ำหนักพุ่งกว่า 10 กก. ใน 1 เดือน

            หญิงสาวได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) และต้องเริ่มรักษาด้วยการกินยาวันละ 20 เม็ด อย่างไรก็ตาม ขณะนั้นเป็นช่วงที่เธอเพิ่งเรียนจบและกำลังหางาน แต่เพราะอาการของโรคทำให้เธอสุขภาพไม่แข็งแรงพอที่จะออกไปทำงานใด ๆ ทำให้ไม่มีรายได้ในขณะที่ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย สภาพตอนนั้นทำให้เธอค่อนข้างหดหู่และซึมเศร้าไปพักหนึ่ง

            หลังจากรู้ว่าเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ในช่วง 2 เดือนต่อน้ำหนักของเธอก็พุ่งขึ้นอย่างไม่สามารถควบคุมได้ เดิมเธอคิดว่าคงเป็นอาการตัวบวมเพราะกินยาปฏิชีวนะเยอะ แต่หลังหยุดยาแล้วน้ำหนักก็ยังเพิ่มขึ้นไม่หยุด จนกระทั่งเธอมาพิจารณาอาการของตัวเอง ว่าเธอมักหิวทันทีหลังกินเสร็จ ทุกวันเวลาตี 1-ตี 2 จะต้องลุกมาหาอะไรกินกลางดึก เธอจึงรู้ตัว่าน้ำหนักที่พุ่งพรวดไม่ใช่ผลจากยา

            “ภายใน 1 เดือน น้ำหนักของฉันเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 กิโลกรัมค่ะ ตอนนั้นฉันสูง 158 เซนติเมตร หนัก 65 กิโลกรัม ทำให้ฉันไม่กล้ามองหรือถ่ายรูปตัวเองในกระจก” ลิวคัมหลินห์ กล่าว

            เมื่อลิวคัมหลินห์ไปหาหมอ ก็ได้รับคำแนะนำว่าภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ทำให้กระบวนการเผาผลาญองเธอแย่กว่าปกติมาก หากน้ำหนักของเธอยังเพิ่มต่อไป ไม่ใช่แค่สุขภาพจะแย่ลง แต่ยังเสี่ยงต่อการมีไขมันในเลือดสูง ดังนั้นเพื่อให้สุขภาพพัฒนาขึ้น จึงจำเป็นต้องลดน้ำหนักด้วยวิธีการเปลี่ยนอาหารและเริ่มออกกำลังกาย

ลดน้ำหนัก

แชร์ทริกลดน้ำหนักของตัวเอง

            ลิวคัมหลินห์พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับการลดน้ำหนักเพิ่มบนอินเทอร์เน็ต และพบว่าธรรมชาติของการที่น้ำหนักลดเกิดจากการขาดแคลอรี่ ดังนั้นเธอจึงคำนวณดัชนีมวลกายใหม่ วางแผนให้อาหารแต่ละมื้อมีปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสม หันมากินคลีนและออกกำลังกาย เธอย้ำว่าเนื่องจากเธอเป็นผู้ป่วย จึงต้องลดน้ำหนักตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ และต้องช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น
 
            ทั้งนี้ ลิวคัมหลินห์ ตัดสินใจแบ่งแคลอรี่ของอาหารแต่ละมื้อ คือ 400-500 แคลอรี่สำหรับมื้อเช้า 600-700 แคลอรี่สำหรับมื้อกลางวัน และ 400-500 แคลอรี่สำหรับมื้อเย็น และที่เหลืออีก 200 แคลอรี่สำหรับของว่างอื่น ๆ ซึ่งเป็นปริมาณแคลอรี่ที่จำเป็นในแต่ละวัน เธอยังเลือกกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงแต่แคลอรี่ต่ำด้วย เช่น อกไก่ ปลา กุ้ง ปลาหมึก ไข่ขาว และโปรตีนจากพืชหรือถั่ว

            “ฉันจำกัดหรือแทบจะตัดไปเลย สำหรับน้ำตาล น้ำอัดลม ชานม หรืออาหารฟาสต์ฟู้ด แม้ว่าทั้งหมดจะเป็นอาหารโปรดของฉันก่อนหน้านี้ก็ตาม” ลิวคัมหลินห์ กล่าว

ลดน้ำหนัก

ทรมานจากความหิว ลองเปลี่ยนวิธีจนเจอทางที่ใช่

            อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนวิธีกินทำให้เธอมักจะรู้สึกหิว แม้จะดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อข่มกลั้นความหิว แต่ร่างกายก็ยังหิวโหย และแขนขาอ่อนแรง ดังนั้นลิวคัมหลินห์จึงต้องปรับมื้ออาหารใหม่ โดยแบ่งกิน 5-6 มื้อต่อวัน แทนที่จะเป็น 3 มื้อตามปกติ และคำนวณแคลอรี่สำหรับอาหารแต่ละมื้อใหม่ ให้มีแคลอรี่น้อยลง แต่ต้องบริโภคอาหารที่มีสารอาหารสูงและหลากหลาย ซึ่งนั่นช่วยให้เธอไม่ต้องทรมานจากความหิวเช่นแต่ก่อน และยังรักษาสมดุลของพลังงานได้  

            ในส่วนการออกกำลังกาย เธอปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่แนะนำเรื่องการออกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักและเผาผลาญไขมันส่วนเกิน เธอถึงกับซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายมาไว้ที่บ้าน แต่ตอนที่เริ่มทำครั้งแรก เธอก็มีปัญหาใจสั่นและหายใจลำบาก ซึ่งเป็นผลจากโรคที่มี ดังนั้นเธอจึงออกกำลังกายได้แค่ 5-10 นาที ก่อนจะต้องพักเหนื่อยหรือหยุดไปเลย

            แต่เธอก็พยายามฝึกฝนซ้ำ ๆ พยายามเพิ่มการออกกำลังกายขึ้นจากวันก่อนไม่กี่นาที จนเมื่อสุขภาพดีขึ้นแล้วเธอจึงเพิ่มการออกกำลังกายอื่น ๆ จนสามารถทำได้ครั้งละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงได้สำเร็จ

            ผลจากการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและกินอาหารที่เหมาะกับสุขภาพ ทำให้ลิวคัมหลินห์ลดน้ำหนักลงได้ 19 กิโลกรัม ภายในระยะเวลา 8 เดือน ตอนนี้สุขภาพของเธอดีขึ้นมากแล้ว อาการจากโรคที่มีก็หายไป แต่เพื่อจะรักษาสุขภาพต่อไป เธอก็ยังหมั่นออกกำลังกายเสมอ โดยจะใช้เวลาในยิมราว 1 ชั่วโมง 30 นาที และวิ่งจ๊อกกิ้งอีกวันละ 30-40 นาที

            ในส่วนอาหารเธอไม่ได้เคร่งครัดมากนัก โดยเลือกทานอาหารคลีน 80% และเก็บอีก 20% ไว้สำหรับอาหารจานโปรดของเธอ หรือการสังสรรค์กับญาติ เพื่อน และเพื่อนร่วมงาน
 

ขอบคุณข้อมูลจาก Phu Nu & Phap Luat




Source link

About the author

Thailand News

Leave a Comment

Translate »