
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน 2566 ประกาศเตือน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย เช็กจังหวัดที่ได้รับผลกระทบที่นี่

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 3 กันยายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 16 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 6 กันยายน 2566) โดยระบุว่า ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวัง ในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 3 กันยายน 2566
ภาคเหนือ : แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ลำพูน ตาก และกำแพงเพชร
ภาคกลาง : อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี สุพรรณบุรีพระนครศรีอยุธยา และ
ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ตรัง และสตูล
วันที่ 4 กันยายน 2566
ภาคเหนือ : ตาก กำแพงเพชร น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร และนครพนม
ภาคกลาง : กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี และสมุทรสงคราม รวมทั้ง
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง
และสตูล
วันที่ 5-6 กันยายน 2566
ภาคเหนือ: แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร
และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง : อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี
ภาคตะวันออก : นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
ภาคใต้ : ระนอง พังงา และภูเก็ต
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง
โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา